วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


อินเตอร์เน็ต (Internet)

          หมายถึง   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเดียว ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลก เข้าด้วยกันโดยรวม เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่ การพูดคุยสนทนา การสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ดาวเทียมหรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้
 
ระบบเครือข่าย (Network) 

           หมายถึง  เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร
หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก เราสามารถส่งข้อมูลในรูปของข้อความกราฟิก เสียง หรือข้อมูลบนคอมพิวเตอร์


ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้รวดเร็ว  มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยผ่านสายสื่อสาร  ซึ่งเราเรียกว่า  การเชื่อมต่อแบบเครือข่าย (Network) ถ้าต่อเชื่อมกันใกล้ ๆ ในพื้นที่เดียวกันเรียกว่า LAN (Local Area Network       การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น  ข้อมูลต่าง    ขององค์กรมีความสำคัญอย่างมาก  และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด  สำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  ซึ่งผู้บริหารและองค์กรที่เล็งเห็นถึงประโยชน์  จากการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชาญฉลาดในการสื่อสารข้อมูลต่าง    อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น  ที่จะได้พบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้มีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ  ในยุคเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันกันสูง  และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว      การเพิ่มขีดความสามารถและความชาญฉลาดเข้าไปในระบบเครือข่ายอย่างมากมาย  ผลที่ตามมาก็คือ  โครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสารที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพสำหรับการสื่อสารทั้งทางด้านเสียง  ภาพและข้อมูลในระบบเครือข่าย  หรือถ้าจะพูดให้ง่ายเข้าก็อาจจะเรียกสั้น    ได้ว่าเป็นระบบเครือข่ายสารสนเทศอัจฉริยะ  ซึ่งจะเป็นระบบสารสนเทศที่ประกอบไปด้วยความคล่องตัว      ปลอดภัย  มีประสิทธิภาพ  และสามารถปรับแต่ง  หรือเพิ่มขยายได้โดยทุกส่วนขององค์ประกอบที่ได้กล่าวมานั้น  สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ














ความหมาย Hardware Software Peopleware

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
         หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย หน่วยรับ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลลัพธ์ สามารถมองเห็นด้วยตา เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ ซีพียู เมนบอร์ด
     ***โดยคำเต็มภาษาไทยคือ ส่วนเครื่อง ส่วนอุปกรณ์
เราสามารถแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ได้ 5 ส่วนสำคัญคือ
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) คือมีหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์  ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด  เครื่องสแกนต่างๆ
2. หน่วยความจำ (Memory Unit) คือมีหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ประมวลผลต่อไป
3. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)  คือมีหน้าที่ปฏิบัติการตารมคำสั่งที่ปรากฎอยู่ในโปรแกรม
4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) คือมีหน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่จะเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลโดยซีพียู
5. หน่วยแสดงข้อมูล (Output Unit) คือมีหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล เช่นจอภาพ เครื่องพิมพ์ 











ซอฟแวร์(software) 

                     หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้         โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้   การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

ประเภทของซอฟต์แวร์
        ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Softwaer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software)
        หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
        หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
2.1 User Program คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง  เช่น โปรแกรมระบบบัญชี,
2.2 Package Program คือ โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่าง ๆ 





พีเพิลแวร์ (Peopleware) 
                                หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มคนที่ต้องทำงานหรือใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อป้อนข้อมูลหรือใช้คำสั่งต่างๆ ให้เครื่องทำงานตามต้องการ เช่น การสร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนาซอฟท์แวร์ใหม่ๆ แก้ไขโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องตามความต้องการ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าบุคลากรทางคอมพิวเตอร์บางกลุ่มทำหน้าที่สร้างกระบวนการให้แก่ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่นๆ เพื่อให้การทำงานหรือใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพโดยเราแบ่งกลุ่มคนพวกนี้ได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager) เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
2. ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst & Designer) ทำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบการทำงาน
3. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้ กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร 
4. ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter) หมายถึงผู้ดูแลและคอยตรวจสอบสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพพร้อมใช้ งานตลอดเวลา
5. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ










วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์
                 หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องจักร์ชนิดหนึ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อกักเก็บข้อมูล หรือประมวลผล โดยมีชุดคำสั่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประกอบเป็นส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ซื่งคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มนอดีตในช่วงเริ่มต้นขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีขนาดใหญ่มากๆแต่ปัจจุบันเทคโนโลยีและความสามารถของมนุษย์มีการพัฒนาขึ้นมาสูงมาก
       โดยเห็นได้ชัดว่าปัจจุบันนี้ ขนาดของคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็ก กระทัดรัด บางและพกพาสะดวก ขีดความสามารถสูงขึ้นกว่าในอดีตเยอะมาก
                 
      คอมพิวเตอร์ มีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง 
1.รับข้อมูล (Input) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล
2.ประมวลผล (Processing) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูลเพื่อแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ
3.แสดงผล (Output) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยประมวลผล
4.เก็บข้อมูล (Storage) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อสามารถที่จะดึงมาใช้ได้ในอนาคต




ความหมายของDATA

DATA

            หมายถึง ข้อมูลซื่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ โดยถูกป้อนเข้าไปภายในระบบ ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงต่างๆ อาจจะเป็นข้อมูล เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือตัวเลขก็มีความหมายเป็นdata โดยอาจจะเกี่ยวกับคน พืช สัตว์ก็เป็นได้ทั้งสิ้น โดย Data นั้นแตกต่างจาก information คือยังไม่มีการประมวลผล แต่ information คือข้อมูลที่ประมวลผลได้เรียบร้อยแล้ว


แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (DATA) และสารสนเทศ


**เราสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า  ข้อมูล คือข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล**

ประเภทของข้อมูล
1.ข้อมูลเพื่อการวางแผน   หมายถึง   เป็นข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ หรือควบคุม โดยมีการสรุปเป็นหมวด
2.ข้อมูลปฏิบัติงาน            หมายถึง   ข้อมูลที่เกิดจากการปฏิบัติงานที่ขึ้นเป็นประจำ
3.ข้อมูลอ้างอิง                 หมายถึง    ข้อมูลที่เก็บไว้สำหรับอ้างอิง

พื้นฐานข้อมูล
               คือข้อมูลที่ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร เสียง รูปภาพ วีดีโอ หรือภาพเคลื่อนไหวหรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ จะต้องสามารถนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์ และสามารถแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม






ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ใช้ในชีวิตประจำวัน


สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ ตาราง หรือเว็บไซต์ต่างๆ


การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข้อมูล ข่าวสาร หรือ สารสนเทศ ระหว่างผู้รับและผู้ส่ง เฃ่นโทรศัพท์ อีเมล การส่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตเป็นต้น