วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

ศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑
            หนังสือ 21st  Century Skills : Learning for Life in Our Times ระบุ
ลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่ไว้ดังนี้
-     มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะ  
 ของตน
-    ต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการ ของตน (customization & personalization)
-   ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง (scrutiny)
-   เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกัน
เป็นองค์กร เช่น ธุรกิจ รัฐบาล และสถาบันการศึกษา
-  ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้
และชีวิตทางสังคม
-  การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
-  ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
-  สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต


หนังสือเล่มนี้ ยังได้ระบุหลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ ๒๑ ไว้ ๕ ประการคือ
ประการแรกคือ   Authentic learning
            การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิต ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ ดังนั้น ครูเพื่อศิษย์  จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน ดังนั้น จึงเป็น
ความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ในการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่าง
ของเด็กแต่ละคน และจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว ยงชีวิตจริงที่สุด

ประการที่สองคือ   Mental model building
            ข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสมจนเกิดเป็นกระบวนทัศน์ (ความเชื่อ ค่านิยม) และสั่งสมประสบการณ์ใหม่ เอามาโต้แย้งความเชื่อหรือค่านิยมเดิม ทำให้ละจากความเชื่อเดิม หันมายึดถือความเชื่อหรือกระบวนทัศน์ใหม

ประการที่สาม  Internal motivation
            การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวคนไม่ใช่ขับดันด้วยอำนาจของครูหรือพ่อแม่เมื่อเด็กมีฉันทะและได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้องจากครูทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจอย่างแท้จริง

ประการที่สี่   Multiple intelligence
            เนื่องจากสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ในการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน และจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว

ประการที่ห้า   Social learning
            ครูเพื่อศิษย์ก็จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิด
นิสัยรักการเรียน เพราะการเรียนจะไม่ใช่กิจกรรมส่วนบุคคลที่น่าเบื่อต่อการเข้าใจ

ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills)
            ครูเพื่อศิษย์ต้องเรียนรู้ทักษะในการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL ให้
เหมาะแก่วัยหรือพัฒนาการของนักเรียน

จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย
            ความจริงเกี่ยวกับการคิด ๓ ประการ ที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเดิม ได้แก่
๑. การคิดทำได้ช้า
๒. การคิดนั้นยาก ต้องใช้ความพยายามมาก
๓. ผลของการคิดนั้นไม่แน่ว่าจะถูกต้อง 
เมื่อไรที่การคิดนั้นเผชิญโจทย์ที่ยากเกิน ความฉลาดจะทำให้มนุษย์หลีกเลี่ยงการคิด หรือ
รู้สึกไม่สนุกที่จะคิด นี่คือ เคล็ดลับสำหรับครูเพื่อศิษย์ สำหรับออกแบบการเรียนรู้ หรือ
ตั้งโจทย์ ให้พอดีระหว่างความยากหรือท้าทายกับความง่ายพอสมควร




วิธีทำให้ศิษย์เรียนรู้ได้อย่างดี
            -     คิดออกแบบขั้นใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง สะเทือนอารมณ์ด้วย 4C ได้แก่ความบังเอิญ
(casuality) ความขัดแย้ง (conflict) ความสลับซับซ้อน    (complication) และการมีบุคลิก (character) น่าสนใจ จำง่าย     สั้นกระชับตอนการเรียนรู้ของนักเรียน
-                   ชวนนักเรียนคิดถึงคุณค่าหรือความหมายของบทเรียนนั้น ๆ
ศาสตร์ด้านจิตวิทยาการรับรู้  กล่าวว่า  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ต้องการข้อมูลมาจากหลายทางในเวลาเดียวกันคือ จากสภาพแวดล้อมในขณะนั้น จากความจำระยะยาว และการคิดแบบนี้แหละที่ทำให้เกิดการสั่งสมความจำระยะยาว ทำให้คนกลายเป็นพหูสูต
PLC เป็นเครื่องมือนำเกียรติภูมิของครูกลับคืนมาไม่ต้องรอให้ใครหยิบยื่นให้
แต่ทำโดยลงมือทำ...ทำแล้วทบทวนไตร่ตรองการเรียนรู้จากผลที่เกิด ทบทวนร่วมกับเพื่อนครู
จนเกิดเป็น ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ ซึ่งก็คือ PLC นั่นเอง 
            ริชาร์ด ดูฟูร์ (Richard Du Four) เป็น บิดาของ PLC”  ัวใจสำคัญที่สุดของ PLC คือ เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่ดีของครูในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ที่การเรียนรู้ในโรงเรียน (และมหาวิทยาลัย) ต้องเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจาก ครูสอน” (teacher) มาเป็น ครูฝึก” (coach)
            หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนจากเรียนรู้จากฟังครูสอน (Learning by Attending Lecture/Teaching) มาเป็น เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing)


พลังของข้อมูลและสารสนเทศ
            ผลของการประเมินเพื่อพัฒนา (formative evaluation)ที่ใช้ข้อสอบร่วมของ PLC คือ ผลสะท้อน feedback ทั้งต่อนักเรียนและต่อครูสำหรับนำมาใช้ยืนหยัดวิธีการบางอย่าง และปรับปรุงวิธีการบางอย่างต้องใช้เทคนิคการจัดการความรู้ (Knowledge Management, KM) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องมือสุนทรียเสวนา (dialogue) (อย่าใช้การอภิปราย discussion เป็นอันขาด) และเครื่องมือ SSS (Success Story Sharing) ประกอบกับเรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling)    คือ ให้ครูที่ลูกศิษย์ทำข้อสอบหมวดใดหรือข้อใดได้ดีเป็นพิเศษเล่าว่า ตนทำอย่างไร และคิดว่าวิธีการใดของตนที่น่าจะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ได้ผลดีของศิษย์

คำแนะนำแก่ครูใหญ่และ ผอ. เขตการศึกษา  เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน อย่าจัดการการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของหลักการ ให้อยู่กับความเป็นจริง
-                   เริ่มด้วยเหตุผลเชิงอุดมการณ์ (Why) แล้วเข้าสู่ปฏิบัติการจริง
โดยเน้น How  ทำให้การกระทำกับคำพูดไปทางเดียวกัน และส่งเสริมกัน
-                   แน่วแน่ที่ปณิธานและเป้าหมาย แต่ยืดหยุ่นที่วิธีการ
-                   ใช้ภาวะผู้นำรวมหมู่
-                   จงคาดหวังว่าจะมีความผิดพลาด จงเตรียมเรียนรู้จากความผิดพลาด
-                    เรียนรู้จากการลงมือทำ
-                   สร้างขวัญกำลังใจและความฮึกเหิม โดยการเฉลิมฉลองผลสำเร็จ
เล็ก ๆ ตามเป้าหมายรายทาง

การจัดเอกสาร
            ๑. ถาดเอกสารเข้า จัดหาถาดเอกสารสำหรับใส่เอกสารที่นักเรียน
ส่งครู
            ๒. แฟ้มบทเรียนประจำวัน จัดหาแฟ้มสีสวยสำหรับใส่เอกสาร
แผนการสอนแต่ละชั่วโมงหรือแต่ละวิชาของวัน
            ๓. แผนฉุกเฉิน อาจเกิดอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ แผ่นดินไหว โรงเรียน
ต้องมีแผนฉุกเฉินเขียนไว้อย่างชัดแจ้ง รวมทั้งมีการซ้อมด้วย ให้จัดแฟ้ม
ใส่เอกสารนี้
            ๔. แฟ้มสำหรับครูสอนแทน ครูคือมนุษย์ธรรมดา ย่อมมีการเจ็บป่วย
หรือมีธุระสำคัญบ้าง ต้องมีครูแทนมาสอน จึงต้องทำแฟ้มสำหรับครูสอน
แทนไว้
            ๕. แฟ้มบทเรียนสนุกสนาน ครูเพื่อศิษย์ต้องทำวิจัยเล็ก ๆ หาบทเรียนสนุก ๆ ให้ความบันเทิงไว้ให้เด็ก ๆ ได้หย่อนใจบ้าง
            ๖. แฟ้มเรียนไม่ทันแนะนำให้ซื้อแฟ้มที่มีหลายช่อง ยืดออกแบบหีบเพลงชัก
            ๗. ทำใบอนุญาตเข้าห้องสมุด ห้องพัก ห้องอาบน้ำ
            ๘. ถ่ายสำเนารายชื่อนักเรียน ให้ถ่ายไว้ ๒ - ๓ ชุด สำหรับบันทึกว่านักเรียนคนไหนได้รับรางวัล บันทึกประวัติการมาเรียน
            ๙. ลังพลาสติกไว้ใส่แฟ้มนักเรียน
            ๑๐. เตรียมงานให้นักเรียนเกเรทำ ให้จัดแฟ้มที่เขียนชื่อเห็นชัดเจนเปิดเผย
            ๑๑. แฟ้มนักเรียนทำผิด ให้จัดแฟ้มนักเรียนทำผิด เขียนชื่อแฟ้มอย่างชัดแจ้ง
            ๑๒. สมุดคะแนน ต้องมีสมุดบันทึกคะแนน แม้จะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการให้คะแนน
            ๑๓. ร่างแผนการสอน (เรียน) ครูเพื่อศิษย์ต้องยกร่างแผนการสอนของทั้งปี เพื่อช่วยให้ครูมีภาพระยะยาวของการสอน

            ๑๔. เตรียมใบต้อนรับนักเรียน
การอ่าน
-                   ส่งเสริมให้เด็กอ่านหนังสือที่ชอบ
-                   อ่านตามความเร็วของตนเอง
-                   อย่าบังคับให้เด็กอ่านอออกเสียง
-                   เลือกหนังสือที่ตนเองสน
-                   อย่าบังคับให้เด็กอ่านหนังสือที่ตนไม่ชอบจนชอบ
แผนการสอน
      พยายามไม่ลงรายละเอียดลึกจนกระทั่งถึงเป็นรายชั่วโมงเพราะจะทำให้กระดาษแผ่นนั้นเป็นนายเรา  แนะนำให้ทำแบบยืดหยุ่น

                    



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น