ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย หน่วยรับ
หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลลัพธ์ สามารถมองเห็นด้วยตา เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด
เมาส์ ซีพียู เมนบอร์ด
***โดยคำเต็มภาษาไทยคือ ส่วนเครื่อง ส่วนอุปกรณ์
เราสามารถแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ได้ 5
ส่วนสำคัญคือ
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) คือมีหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูล เช่น
แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด เครื่องสแกนต่างๆ
2. หน่วยความจำ (Memory Unit) คือมีหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล
เพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ประมวลผลต่อไป
3. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing
Unit) คือมีหน้าที่ปฏิบัติการตารมคำสั่งที่ปรากฎอยู่ในโปรแกรม
4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary
Storage) คือมีหน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่จะเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลโดยซีพียู
5. หน่วยแสดงข้อมูล (Output Unit) คือมีหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล
เช่นจอภาพ เครื่องพิมพ์
ซอฟแวร์(software)
หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์
คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง
การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง
ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์
เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน
ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย
เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์
ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน
บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว
คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย
คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น
การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้
ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก
และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System
Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application
Softwaer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง
เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
พีเพิลแวร์ (Peopleware)
หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มคนที่ต้องทำงานหรือใช้งานคอมพิวเตอร์
เพื่อป้อนข้อมูลหรือใช้คำสั่งต่างๆ ให้เครื่องทำงานตามต้องการ เช่น
การสร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนาซอฟท์แวร์ใหม่ๆ
แก้ไขโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องตามความต้องการ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าบุคลากรทางคอมพิวเตอร์บางกลุ่มทำหน้าที่สร้างกระบวนการให้แก่
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่นๆ
เพื่อให้การทำงานหรือใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพโดยเราแบ่งกลุ่มคนพวกนี้ได้
5 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager) เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2. ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst & Designer) ทำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบการทำงาน
3. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้
กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร
4. ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter) หมายถึงผู้ดูแลและคอยตรวจสอบสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพพร้อมใช้
งานตลอดเวลา
5. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป
ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น